บทที่1 ความหมายของความรู้



ความหมายของความรู้จากนักวิชาการแต่ละท่าน



lkujiro Nonaka หมายถึงคือ แนวคิดในการจำแนกความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Tacit และ Explicit Knowledge ซึ่งได้รับความนิยมและนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ทั้ง 2 ท่านได้ให้คำจำกัดความของความรู้ทั้ง 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
 1. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่างๆ ซึ่งสื่อสารหรือถ่ายทอดในรูปแบบของตัวเลข สูตร หรือลายลักษณ์อักษรได้ยาก ความรู้ชนิดนี้พัฒนาและแบ่งปันกันได้ และเป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
 2. Explicit Knowledge ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และรายงานต่างๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
 Hideo Yamazaki หมายถึงคือได้แสดงว่ามิติความรู้ โดยเริ่มจากฐานล่าง คือ ข้อมูล สังเคาระห์จนได้สารสนเทศคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงจนได้ ความรู้ นำไปใช้จนแก่งกลายเป็นปัญญา
 Davenport and Prusak หมายถึงคือ ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อมและกรอบการทํางาน สําหรับการประเมินและรวมกันของประสบการณ์และสารสนเทศใหม่
 Peter Senge หมายถึงคือ หัวใจของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ที่การเสริมสร้างวินัย  5 ประการ ให้เกิดผลจริงจังในรูปของการนำไปปฏิบัติ แก่บุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่องและทุกระดับ โดย Sengeได้ให้คำนิยามของ ”องค์การแห่งการเรียนรู้”  ว่า เป็นองค์การที่ผู้คนต่างขยายขีดความสามารถเพื่อสร้างผลงานที่ต้องการสร้างอนาคต
 Peter Drucker หมายถึงคือ เป็นนักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ แต่ดรักเกอร์มีแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการองค์กรที่แตกต่างอย่างมาก จากนักคิดด้านการบริหารรุ่นใหม่ๆ ที่การนำเสนอแนวคิดการบริหารธุรกิจ จะมีหลักวิชาการรองรับและมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบแผน แต่แนวคิดที่เป็นจุดเด่นของดรักเกอร์คือความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนต่างๆ ของสังคม และพยายามถอดสรุปสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็นแนวคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ
 ประเวศ วะสี คือท่านได้เสนอแนวคิดว่าความรู้ที่จำเป็นมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ เรียกว่าปัญญา 4 หรือ จตุรปัญญา คือ ความรู้ธรรมชาติที่ เป็นวัตถุ ( วิทยาศาสตร์กายภาพ ) ความรู้ทางสังคม ( วิทยาศาสตร์สังคม ) ความรู้ทางศาสนา ( วิทยาศาสตร์ข้างใน ) และความรู้เรื่องการจัดการซึ่งปัญญาที่เกิดจากความรู้ชนิดใดชนิดหนึ่งไม่เป็นการเพียงพอที่จะ ทำให้เกิดดุลยภาพในสังคมเราจำเป็นต้องมีปัญญาอย่างบูราณาการ การศึกษาและการวิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาทุกด้านมิใช่ให้เรียนรู้เป็นส่วน ๆ เพราะความรู้แบบแยกส่วนจะนำไปสู่การกระทำแบบแยกส่วนทำให้เกิดการเสียดุลยภาพและเกิดวิกฤติการณ์ขึ้น การศึกษาเรียนรู้จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบเชื่อมโยง
 วิจารณ์ พานิช คือ การยกระดับความรู้ขององค์กร  เพื่อสร้างผลประโยชน์จากต้นทุนทางปัญญา  โดยเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนและกว้างขวาง การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียนจากการปฏิบัติเป็นตัวนำ  เป็นตัวเดินเรื่องไม่ใช่แค่เรียนจากครู หรือตำรา ตำรานั้นเป็นการเรียนรู้แบบเก่า ซึ่งเน้นทฤษฎี ขณะที่การเรียนรู้แบบการจัดการความรู้ก็เป็นทฤษฎี แต่ว่าเน้นที่การเรียนรู้แบบปฏิบัติ การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องของคนๆ  เดียว เป็นเรื่องของคนหลายคนที่ทำงานร่วมกัน เวลาปฏิบัติแต่ละคนจะมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกัน อาจเห็นส่วนที่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นการยืนยันที่ตรงกัน เมื่อมีการแลกเปลี่ยนประสบการณกันมากๆ จะทำให้ยกระดับความรู้ ความเข้าใจขึ้นไปอีก
 ประพนธ์ ผาสุกยืด คือ วิธีการเรียนรู้ที่ได้ผลนั้นมีระดับความสำเร็จเรียงตามลำดับจากน้อยไปมาก ดังนี้คือ การเรียนในห้อง การอ่าน การฟัง การสาธิต การหารือภายในกลุ่ม การเรียนจากการปฏิบัติ และที่ได้ผลมากที่สุดคือ การสอนผู้อื่น ซึ่งจะเห็นว่าระดับความสำเร็จในกลุ่มสูงนี้จะเป็นการเรียนรู้แบบกลุ่ม มากกว่าเรียนรู้แบบปัจเจกเฉพาะตน

สรุปความรู้หมายถึง  การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา ผลที่ได้จากการเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดความเข้าใจในสิ่งนั้นและสามารถระลึกได้เมื่อต้องการใช้ความรู้นั้น ความรู้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของบุคคลโดยเฉพาะการแสวงหาความรู้โดยการอ่านและการคิด ซึ่งในความคิดของผู้นั้นคิดว่า นิยามของคำว่า ความรู้ นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะกำหนดขอบเขตของความหมาย แต่ถ้าเราเริ่มจากคำว่า "ข้อมูล" หรือ "ข้อเท็จจริง" สิ่งที่ได้คือความจริงต่าง ๆ ที่ปรากฏเกิดขึ้น การดำเนินการต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อมูล เช่น เมื่อเรามีการซื้อขายสินค้า ก็มีการจดบันทึกหลักฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่1 ความหมายของความรู้

ความหมายของความรู้จากนักวิชาการแต่ละท่าน lkujiro Nonaka หมายถึงคือ แนวคิดในการจำแนกความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Tacit และ Explici...