บทที่6 การใช้งาน JOOMLA

การใช้งาน JOOMLA เบื้องต้น


 Joomla คือ ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมาก ด้วยความสามารถของระบบที่ถูกจัดเตรียมมาให้ผู้ใช้งานสร้างเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว หน้าจอการทำงานถูกออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย และสามารถปรับแต่งระบบได้ตามต้องการ ที่สำคัญเป็นระบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งทางทีมผู้พัฒนามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และทันต่อเทคโนโลยี
   Joomla หรือCMS ตัวหนึ่งจากหลายๆ ตัวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน สำหรับคุณที่ยังไม่รู้จักว่า CMS คืออะไร ขออธิบายสั้นๆ เพิ่มเติมดังนี้ครับ CMS นั้นเป็นอักษรย่อของ คำว่า "Content Management System" ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทย หมายถึง ระบบบริหารจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์  นั่นหมายความว่า สิ่งที่เราจะต้องดูแลก็คือเนื้อหาของเว็บไซต์ เช่น การเพิ่มบทความ การเพิ่มรูปภาพ หรือการปรับแต่งโยกย้ายโมดูลต่าง ๆ  ไม่จำเป็นจะต้องมานั่งเขียน Code ด้วยภาษา HTML , PHP, SQL เพียงแต่เรียนรู้วิธีการติดตั้ง การปรับแต่ง การใช้งาน CMS เท่านั้น  สำหรับ Code ต่าง ๆ ที่นำมาสร้าง และ ออกแบบเว็บไซต์ จะทำโดยทีมงานของผู้พัฒนา CMS ของแต่ละทีม ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาในการสร้าง  และออกแบบเว็บไซต์ ได้อย่างมาก
แนะนำโปรแกรม Joomla
"joomla" เป็นระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ (content management system: cms) ที่ช่วยให้การพัฒนาเว็บไซต์เป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว สามารถติดตั้งใช้งานและอัพเดทข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาตามต้องการ
โปรแกรม joomla จะแบ่งเว็บไซต์ออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือ
frontend คือส่วนที่แสดงผลให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเนื้อหาของเว็บไซต์นั่นเอง
backend คือส่วนการจัดการเนื้อหารวมถึงโครงสร้างของเว็บไซต์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าส่วนadministrator


ส่วนของ frontend เป็นส่วนของเว็บไซต์ที่คนอื่นจะเข้ามาดู ส่วน backend จะเป็นส่วนให้ผู้ดูแลเว็บไซต์เข้าไปแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งการเข้าสู่ส่วน backend เพื่อจัดการข้อมูลต่างๆ จะต้อง Loginที่ http://web.agri.cmu.ac.th/it/administrator

 ส่วนประกอบต่างๆภายใน Joomla Administrator

หลังจาก Login เข้ามาในส่วน administrator แล้ว จะพบส่วนประกอบต่าง ๆ 4 ส่วนดังนี้


1. Menubar คือส่วนที่แสดงชื่อคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม Joomla 

2. Infobar คือส่วนที่แสดงข้อมูลรายละเอียดต่อไปนี้ 
- ชื่อของเว็บไซต์ 
- ตำแหน่งปัจจุบัน (Current Location) ใน Admin Section ที่กำลังใช้งานอยู่ 
- จำนวนข้อความที่ได้รับจาก Users อื่น ๆ
- จำนวนผู้เข้าใช้งานโปรแกรม Joomla ในขณะนั้น 
- ชื่อผู้ใช้ที่ Login เข้ามา เช่น admin 
3. Toolbar คือเมนูคำสั่งย่อยจะปรากฏหลังจากคลิกเลือกคำสั่งบน Menubar แล้ว (อาจจะแสดง จำนวนปุ่มไม่เท่ากัน เมื่อคลิกเลือกคำสั่งบนmenubar)


 4. Workspace คือพื้นที่แสดงการทำงานต่างๆ ซึ่งอยู่ด้านล่าง Menubar, Infobar และ Toolbarความหมายของปุ่มคำสั่งต่างๆ



การจัดการ Section

Section (หมวดหมู่หลัก) ทำหน้าที่จัดเก็บ Category (หมวดหมู่ย่อย) การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Section ,การสร้าง Section ,การลบ Section ,การแก้ไข Section ,การเปิดและซ่อน section

การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Section (Section Manager) สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 คลิก Menubar แล้วเลือกคำสั่ง Content => Section Manager

วิธีที่ 2 คลิก menubar แล้วเลือกคำสั่ง Home เพื่อไปที่หน้าแรก (ส่วนของ Control Panel)  คลิกปุ่ม Section Manager 

การสร้าง Section

1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Section (section manager)
 2. กดปุ่ม New จากนั้นจะเข้าสู่ส่วนการกำหนดค่าต่าง ๆ


3. กำหนดชื่อของ Section ลงใน Title และ Section Name (ใช้ชื่อเดียวกันได้) และกำหนดระดับของผู้ที่ สามารถเข้ามาดูในส่วนของ Access Level ซึ่งประกอบด้วย Public ทุกคนสามารถเปิดดูได้ Registered เฉพาะผู้ที่ผ่านการ Log in เข้าระบบสมาชิกจึงจะสามารถเปิดดูได้ และ Specialสำหรับผู้ที่อยู่กลุ่มพิเศษ(กลุ่มที่แก้ไขข้อมูลได้)เท่านั้นที่เปิดดูได้
4. เมื่อกำหนดเสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่ม Save หรือ Apply
การลบ Section
1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ section (section manager)
2. เช็คเครื่องหมาย ของ Section ที่ต้องการลบ
3. กดปุ่ม Delete (การลบ Section นั้นภายในต้องไม่มี Category ใด ๆ อยู่)
การแก้ไข Section
1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ section (Section Manager)
2. เช็คเครื่องหมาย ที่กล่องสี่เหลี่ยมหน้าชื่อ Section ที่ต้องการแก้ไข
3. กดปุ่ม Edit เพื่อเข้าสู่การแก้ไข Section
4. เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่ม Save หรือ Apply
การเปิดและซ่อน Section
1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ section (section manager)
2. หากต้องการเปิด Content ใด ๆ ที่อยู่ภายใน Section นั้น ให้ปรากฏบนเว็บไซต์ สามารถทำได้โดยคลิกรูปสัญลักษณ์ ถูก ในคอลัมน์ของpublished และหากไม่ต้องการให้ปรากฏบนเว็บไซต์ให้คลิกเปลี่ยนเป็นรูป สัญลักษณ์  ผิด

การจัดการ Category
Category (หมวดหมู่ย่อย) ทำหน้าที่จัดเก็บ Content Items (เนื้อหา ข้อมูลหรือบทความ) การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Category  การสร้างCategory  การลบ Category  การแก้ไข Category การเปิดและซ่อน Category  การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Category (Category Manager) สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้
 วิธีที่ 1 คลิก Menubar แล้วเลือกคำสั่ง Content => Category Manager


วิธีที่ 2  คลิก menubar แล้วเลือกคำสั่ง Home เพื่อไปที่หน้าแรก (ส่วนของ Control Panel)  คลิกปุ่ม Category Manager

การสร้าง Category
1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Category (Category manager)                                                                                                                                2. กดปุ่ม  New จากนั้นจะเข้าสู่ส่วนการกำหนดค่าต่าง ๆ

3. กำหนดชื่อของ Category ลงใน Category Title และ Category Name (ใช้ชื่อเดียวกันได้)
4. กำหนด Section ที่จัดเก็บ Category นี้
5. กำหนดระดับของผู้ที่สามารถเข้ามาดูในส่วนของ Access Level ซึ่งประกอบด้วย Public ทุกคนสามารถเปิดดูได้ Registered เฉพาะผู้ที่ผ่านการ Log in เข้าระบบสมาชิกจึงจะสามารถเปิดดูได้ และ Special สำหรับผู้ที่อยู่กลุ่มพิเศษ(กลุ่มที่แก้ไขข้อมูลได้)เท่านั้นที่เปิดดูได้

 การเปิดและซ่อน Category
 1.เข้าสู่ส่วนการจัดการ Category (Category manager)
 2.หากต้องการเปิด Content ใด ๆ ที่อยู่ภายใน Category นั้น ให้ปรากฏบนเว็บไซต์ สามารถทำได้โดยคลิกรูป ถูก สัญลักษณ์ ในคอลัมน์ของpublished และหากไม่ต้องการให้ปรากฏบนเว็บไซต์ให้คลิกเปลี่ยนเป็นรูปสัญลักษณ์ ผิด
  การจัดการ Content Item
 Content Items (เนื้อหา ข้อมูลหรือบทความ) การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item  การสร้าง Content Item  การลบ Content Item  การแก้ไข Content Item  การนำ content item แสดงบนหน้าแรกของเว็บไซต์ การเปิดและซ่อน Content Item
 การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item (Content Items Manager) สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้
  วิธีที่ 1 คลิก Menubar แล้วเลือกคำสั่ง Content => All Content Items

วิธีที่ 2 คลิก menubar แล้วเลือกคำสั่ง Home เพื่อไปที่หน้าแรก (ส่วนของ Control Panel)  คลิกปุ่ม Content Items Manager



การสร้าง Content Item
 1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item (Content Items manager)
  2. กดปุ่ม New จากนั้นจะเข้าสู่ส่วนการกำหนดค่าต่าง ๆ


3. กำหนดชื่อของ Content Item ลงใน Title และ Title Alias (ใช้ชื่อเดียวกันได้)
4. กำหนด section และ Category ที่จัดเก็บ Content Item นี้
5. พิมพ์และใส่ข้อมูลลงในกรอบ Intro Text และ Main Text
6. ระหว่างพิมพ์และใส่ข้อมูลสามารถกดปุ่ม เพื่อเปิด pop up แสดง Content Item
7. เสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่ม Save หรือ Apply

การลบ Content Item
1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item (Content Items manager)
2. เช็คเครื่องหมาย ขอContent Item ที่ต้องการลบ
3. กดปุ่ม  Delete (การลบ Content Item นั้นภายในต้องไม่มี Content Item ใด ๆ อยู่)

การแก้ไข Content Item
1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item (Content Items manager)
2. เช็คเครื่องหมาย ที่กล่องสี่เหลี่ยมหน้าชื่อ Content Item ที่ต้องการแก้ไข
3. กดปุ่ม Edit เพื่อเข้าสู่การแก้ไข Content Item
4. ระหว่างแก้ไขสามารถกดปุ่ม เพื่อเปิด pop up แสดง content item
5. เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่ม Save หรือ Apply
การนำ Content Item แสดงบนหน้าแรกของเว็บไซต์
1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ content item (content items manager)
2. คลิกในคอลัมน์ของ Front Page ให้แสดงเครื่องหมาย ของ content item ที่ต้องการแสดงบนหน้า แรก หากไม่ต้องให้คลิกอีกครั้งให้แสดงเครื่องหมาย  ผิด
การเปิดและซ่อน Content Item
1.เข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item (Content Items manager)
2.หากต้องการเปิด Content ใด ๆ ที่อยู่ภายใน Content Item นน้ั ให้ปรากฏบนเว็บไซต์ สามารถท าได้โดย คลิกรูป  ถูก ในคอลัมน์ของ published และหากไม่ต้องการให้ปรากฏให้คลิกเปลี่ยนเป็นรูป  ผิด


การใช้งาน TinyMCE สำหรับใส่และแก้ไขข้อมูล Content Item

การใส่และแก้ไขข้อมูลลงใน Content จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับโปรแกรมออกแบบเว็บไซต์ทั่วไป เช่น Macromedia Dreaweaver โดยจะมีกรอบที่สามารถใส่ข้อมูลสองส่วนคือ

- ส่วนแรก Intro Text เป็นส่วนที่ Content Item จำเป็นต้องมี อาจจะใส่ข้อมูลทั้งหมดหรือข้อความบางส่วนที่เกริ่นถึงเนื้อหาใน Content Item ทั้งหมด

- ส่วนที่สอง Main Text เป็นส่วนที่แสดงเนื้อ


ความหมายของปุ่มคำสั่งบน Toolbar
การจัดการตาราง (Table)

การแทรกตาราง
2. กำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้ Columns จำนวนของแถวในแนวตั้ง Rows จำนวนของแถวในแนวนอน      Cellpadding ระยะห่างระหว่างช่องCell กับตัวอักษรภายในช่อง Cell Cellspacing  ระยะห่างระหว่างช่อง Cell Alignment กำหนดให้ตารางชิดซ้าย ขวาหรือกึ่งกลาง Width, Height  กำหนดความกว้างและความสูงหน่วยเป็น pixels  (สามารถเปลี่ยนหน่วยเป็น % ได้ โดยเติม % ต่อท้าย) และกดปุ่ม แทรกตาราง




            
 การแทรกและลบ Row หรือ Column
1. คลิกช่อง Cell
2. เลือกกดปุ่มคำสั่งบน Toolbar ดังนี้
การรวม ช่อง Cell  

การใช้ Media Manager สำหรับการจัดเก็บไฟล์รูปภาพและไฟล์อื่น ๆ
Media Manager เป็นส่วนที่ดูแลและจัดการไฟล์ที่ Upload เข้ามาเก็บไว้ที่เว็บไซต์ สำหรับไฟล์ที่อนุญาตให้ สามารถ Upload ได้จะมีด้วยกัน 9 ประเภทประกอบด้วย doc, xls, ppt, bmp, gif, jpg, png, swf, pdf Folder ที่จัดเก็บไฟล์ โปรแกรม Joomla ได้กำหนด folder สำหรับการใช้งานมาให้สอง folder ประกอบด้วย
 1. banners เป็น folder สำหรับจัดเก็บไฟล์รูปภาพที่จะถูกนำไปใช้เป็น Banner
 2. stories   เป็น folder รูปภาพที่ถูกใช้กับ MOSImage ซึ่งจะถูกแสดงออกมาในส่วน Tab Images เมื่อมี การแก้ไข Content Item
 การเข้าสู่ Media Manager สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้ 
 วิธีที่ คลิก Menubar แล้วเลือกคำสั่ง Site => Media Manager


วิธีที่ 2  คลิก menubar แล้วเลือกคำสั่ง Home เพื่อไปที่หน้าแรก (ส่วนของ Control Panel)  คลิกปุ่ม Media Managerการย้ายไปยัง Folder อื่น
1. เข้าสู่ Media Manager
การ Upload ไฟล์ 
1. เข้าสู่ media manager
 2. ย้ายไปยัง Folder ที่ต้องการเก็บไฟล์
 3. กดปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์
 4.กดปุ่ม  Upload

 การสร้าง Folder
 1. เข้าสู่ media manager
 2. ย้ายไปยัง folder ที่ต้องการเก็บ Folder ใหม่
 3. พิมพ์ชื่อ Folder ที่ต้องการสร้างในช่อง create directory
 4. กดปุ่ม  Create

 การลบไฟล์
 1. เข้าสู่ media manager
 2. ย้ายไปยัง folder ที่เก็บไฟล์ที่ต้องการลบ
 3. กดปุ่ม  ถังขยะ ตรงไฟล์ที่ต้องการลบ

การจัดการเนื้อหาบนหน้าแรกของเว็บไซต์ด้วย Frontpage Manager 
การเข้าสู่ส่วน Frontpage Manager เพื่อจัดการ Content Item ที่ถูกเลือกมาไว้ในหน้าแรกของเว็บไซต์ สามารถท าได้ 2 วิธีดังนี้

วิธีแรก 1. คลิก Menubar แล้วเลือกค คำสั่ง Content => Frontpage Manager
วิธีที่ 2
1. คลิก menubar แล้วเลือกคำสั่ง Home เพื่อไปที่หน้าแรก (ส่วนของ Control Panel)
2. คลิกปุ่ม Front page Manager
การเปิดและซ่อน Content Item ในหน้าแรก
1. เข้าสู่ส่วน frontpage manager
2. หากต้องการให้ Content Items ปรากฏให้หน้าแรกให้คลิกส่วน Published ให้เป็นรูปสัญลักษณ์
 และหากไม่ต้องให้ปรากฏให้คลิกเปลี่ยนเป็นรูปสัญลักษณ์

การสลับลำดับของ Content Items ที่แสดงในหน้าแรก
1. เข้าสู่ส่วน Frontpage Manager
2. ให้คลิกรูปสัญลักษณ์ ที่แถว Reorder เพื่อเปลี่ยนลำดับ

การจัดการเมนู (Menu Manager) กับ Content Item
Menu เป็นส่วนที่น าข้อมูล Content Item มาแสดงบนเว็บไซต์เมนูจะมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังนี้
 Main Menu (เมนูหลัก ปกติจะปรากฏทางด้านซ้าย)
 top menu (เมนูด้านบน)
user menu (เมนูส าหรับสมาชิก จะปรากฏเมื่อสมาชิก Login)
 Other Menu (เมนูอื่น ๆ)
การจัดการปุ่ม () บนเมนู
 การเข้าสู่ส่วนการจัดการเมนู (Menu Manager)
 การสร้างปุ่มเพิ่มบนเมนู
 การลบปุ่ม
 การสลับล าดับปุ่ม
 การเปิดและซ่อนปุ่ม
การเข้าสู่ส่วนการจัดการเมนู (Menu Manager) (ในที่นี้จะเป็นการสร้างปุ่มบน main menu)

1. คลิก menubar แล้วเลือกค าสั่ง menu => mainmenu
     เมื่อเข้าสู่ส่วนการจัดการ menu จะปรากฏส่วนแสดงรายละเอียดภายใน menu manager ดังรูป
  การสร้างปุ่มเพิ่มบนเมนูสามารถทำได้ดังนี้
         1. เข้าสู่ส่วนการจัดการเมนู (menu manager)
         2. กดปุ่ม

         3. เลือกประเภทของปุ่ม (Menu Item)
4. กดปุ่ม
ปัจจุบันมีระบบจัดการบทความ หรือ CMS หลายเจ้าดังๆ ที่เป็น Open Source ซึ่งแต่ละเจ้านั้นแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฟิวเจอร์ต่างๆ คุณสมบัติ ความปลอดภัย ทั้งหมดนี้ Joomla ได้เตรียมให้เราค่อนข้างครบ ทำให้คนที่ไม่รู้โค้ดก็สามารถสร้างเว็บไซต์ของตัวเองด้วย Joomla ได้ง่ายๆ บางเจ้าใช้งานง่ายก็จริง แต่พอเล่นๆดูสักพัก เราจำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินเสริมต่างๆมากมาย ทำให้คนที่ไม่รู้โค้ดหรือเทคนิค ต้องใช้เวลานานในการศึกษา

 5 เหตุผลที่ต้องใช้ Joomla ทำเว็บไซต์
1.คุณสมบัติในการจัดการเนื้อหาครบถ้วน
2.ฟังก์ชันและอินเตอร์เฟสได้มาตรฐาน
3.กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงเนื้อหา
4.ระบบจัดการธีมเพลตที่ครบเครื่อง
5.รองรับภาษาสากล

1. คุณสมบัติในการจัดการเนื้อหาครบถ้วน : Joomla เป็นระบบการจัดการบทความหรือที่เราเรียกกันว่า CMS ซึ่งใช้ในการสร้างเว็บไซต์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่ง Joomla มีระบบจัดการบทความที่ยอดเยี่ยม ตั้งแต่ สามารถสร้างบทความ ประเภทของบทความ กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงบทความ Options ต่างๆของแต่ละบทความ มีระบบค้นหาที่ครบค้วน  ทำให้เราสามารถจัดการบทความของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือมีระบบตั้งค่า SEO เรียบร้อย สามารถใส่พวก Keywords , Description, title ผ่านบทความได้ง่ายๆเลย

2.ฟังก์ชันและอินเตอร์เฟสได้มาตรฐาน :  Joomla ด้วยความที่เป็นระบบ CMS ที่ครบเครื่อง มีฟิวเจอร์ต่างๆมากมาย ทำให้อาจจะต้องใช้เวลาในช่วงแรกๆ ในการศึกษามัน แต่ถ้าเราใช้มันไปในระดับนึง เราจะเห็นได้ว่า Joomla เองได้พยายามใช้ฟังก์ชันต่างๆที่อยู่ในระบบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน และส่วนของหลังบ้านหรือ Administrator สังเกตเห็นว่า Joomla ใช้ Bootstrap ในการออกแบบ GUI ซึ่งเป็น CSS Framework ที่ได้รับความนิยามทั่วโลก

3. กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงเนื้อหา : สิ่งที่สำคัญอีกอย่างของ Joomla คือ จูมล่าอนุญาตให้เรากำหนดสิทธิ์การใช้งานบทความแต่ละบทความว่า อยากจะให้ยูเซอร์คนใหนสามารถเข้าถึงบทความนั้นๆได้ ไม่อนุญาตให้ใครบ้าง ถือว่าเป็นฟิวเจอร์ที่น่าสนใจ สำหรับคนที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ที่หลากหลาย


4.ระบบจัดการธีมเพลตที่ครบเครื่อง : บางธีมเพลต(Template) อนุญาตให้เราใช้ธีมแค่ธีมเดียวต่อหนึ่งเว็บ อย่างไรก็ตามจูมล่า(Joomla)อนุญาตให้เรา ใช้ธีมเพลตแต่ละหน้าของเว็บไซต์ไม่เหมือนกัน เช่น ธีม A ใช้กับเพจหน้า A ธีม B ใช้กับเพจหน้า B เป็นต้น จะเห็นได้ว่า จูมล่าได้ออกแบบระบบธีมเพลตให้ ยืดหยุ่น ต่อการใช้งานบนเว็บไซต์


5. รองรับภาษาสากล :เหตุผลที่ใหญ่ที่สุดว่าทำไมจูมล่า(Joomla) เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั่วโลก เพราะจูมล่าได้รองรับภาษาต่างๆ ระดับสากล จูมลา(Joomla)สามารถ ติดตั้ง และกำหนดการตั้งค่าภาษาต่างๆได้โดยไม่ต้องติดตั้งปลั๊กอินใดๆเพิ่มเลย ทำให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์ 2 ภาษาหรือ หลายภาษาได้อย่างง่ายดาย

 ข้อดีของ Joomla!
                -เป็นเครื่องมือที่เปิดใช้งานได้ ฟรี
-ขั้นตอนการติดตั้งง่าย
-สามารถควบคุมอินเตอร์เฟสด้วยเทมเพลตเพื่อแสดงเนื้อหาของเว็บไซต์
-จัดการเนื้อหาได้ง่าย
-สนับสนุนการทำงานของคนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
-มีความเสถียรและอัพเดตสม่ำเสมอ
มีสังคมช่วยเหลือออนไลน์มากมาย
มีนักพัฒนาที่เป็นภาษาไทย (https://www.joomlacorner.com)

ข้อเสียของ Joomla!
-ผู้เริ่มต้นในการใช้งานอาจไม่เข้าใจของส่วนประกอบ ,โมดูล , และปลั๊กอิน
-ส่วนประกอบบางส่วนไม่ครอบคลุมความต้องการ ทำให้แก้ปัญหาค่อนข้างยากลำบาก

 แหล่งที่มา
http://www.agri.cmu.ac.th/2017/files/Download/49080109.pdf                                                               https://www.teeneeweb.com/5-reasons-choose-joomla-website/






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่1 ความหมายของความรู้

ความหมายของความรู้จากนักวิชาการแต่ละท่าน lkujiro Nonaka หมายถึงคือ แนวคิดในการจำแนกความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Tacit และ Explici...