บทที่2 แนวคิดการจัดการความรู้

แนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
ความหมายของการจัดการความรู้                                                                                                                                          การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ (Process) ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กร หรือหน่วยงานย่อยขององค์กรเพื่อสร้าง และใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางาน และพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ ในขณะที่ Henrie and Hedgepeth (2003) ให้ความหมายว่า การจัดการความรู้เป็นระบบการจัดการสินทรัพย์ความรู้ขององค์กรทั้งที่เปความรู้โดยนัยและความรู้ที่เห็นได้อย่างชัดเจน 
ระบบการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เกี่ยวพันกับการจำแนกความรู้ การตรวจสอบความรู้ การจัดเก็บความรู้ที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว การเตรียมการกรองความรู้ การเตรียมการเข้าถึงความรู้ให้กับผู้ใช้ ทั้งนี้โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ทำให้ความรู้ถูกใช้ถูกปรับเปลี่ยนและถูกยกระดับขึ้น                                                               โมเดลเซกิ (SECI Model) ถูกเสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรกเพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็น
งานประจำที่ยั่งยืน
SECI Model ซึ่งเป็นกระบวนการในการสร้างความรู้ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่าง ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) ที่ประกอบด้วย 4 กระบวนการที่เป็นพลวัตร ได้แก่
   S = Socialization  แสดงการถ่ายโอนความรู้กันโดยตรงระหว่างกลุ่ม หรือบุคคล ทีมความรู้พื้นฐานความสนใจที่สอดคล้องกัน หรือมีคลืนความถีทสอสารทําความเข้าใจกันได้โดยง่าย สามารถทําให้เกิดขึ้นได้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
   E = Externalization แสดงให้เห็นการเรียนรู้ แสวงหาสิงใหม่ๆ จากภายนอกเพิ่มเข้ามาเพื่อให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยน แปลง รวมทังประสบการณ์ตรงที่สมผัสกับลูกค้า ผู้ใช้บริการ ผู้ทําธุรกิจกับองค์กร เป็นความรู้ที่สําคัญต่อความสามารถในการแข่งขันและดํารงอยู่ขององค์กร
   C = Combination  เชื่อมโยงความรู้ภายในกับความรู้ภายนอก แล้วหาแนวปฏิบัติที่ดีที่เหมาะสมกับเรา ในส่วนนี้ผู้ที่ มีความสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารที่ดี จะช่วยสรุปองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้
   I = Internalization เป็นผลของการเชื่อมโยงแล้วนําความรู้มาปฏิบัติเกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญาฝังอยู่ในตัวคน กลายเป็น Tacit Knowledge เพือนําไปถ่ายทอดหมุนเวียนต่อไป
          1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) 
กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา
          2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) 
กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่
          3. การควบรวมความรู้ (Combination) 
กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร
          4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) 
กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร 

ตัวอย่าง
1. Socialization  เป็นการแบ่งปันประสบการณ์หรือความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (tacit knowledge ) ผ่านการสื่อสารแบบเผชิญหน้าเป็นรายบุคคล   เช่นการฝึกงานแบบ on job training (OJT)  หรือฝึกงานกันพี่เลี้ยง  พี่สอนน้อง  (mentor) ซึ่งจะเห็นได้ว่าความรู้แฝงที่ถ่ายทอดออกมานั้นไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาพูดแต่เป็นการถ่ายทอดโดยการกระทำหรือกิจกรรมให้ผู้ฝึกงานได้เห็นและเลียนแบบพฤติกรรมและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้  ซึ่งเป็นการดึงความรู้ที่ฝังลึกในตัวผู้ถ่ายทอดสู่ผู้ฝึกปฏิบัติผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง   TK -> TK

2.    Externalization  เป็นการแปลงความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (tacit knowledge ) หรือการแบ่งปันประสบการณ์ของบุคคล  ออกมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง(explicit knowledge)  ผ่านการสื่อสารโดยการเล่าเรื่องหรือสนทนา (dialogue) ให้กลุ่มสามารถเข้าใจได้ และมีการจดบันทึกความรู้ที่ได้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร   เช่นนำมาการเขียนเป็นบทความ คู่มือ ตำรา การบันทึกเสียงบทสัมภาษณ์หรือสนทนา  หรือภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ เป็นต้น   TK -> EK

 3.    Combination เป็นกระบวนการผนวกรวมความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge)   ที่ได้จากระยะ Externalization  เข้าด้วยกัน     ซึ่งรวมทั้งมีเชื่อมโยงความรู้ภายในกับความรู้ภายนอกซึ่งอาจเป็นบทความ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์มาต่อยอดความรู้เดิม แล้วหาแนวทางปฏิบัติที่ดีเหมาะสมกับองค์กรมาสร้างเป็นความรู้ชัดแจ้งเรื่องใหม่ มีการกระจายหรือเผยแพร่ความรู้ชัดนั้น โดยอาจใช้รูปแบบของการประชุมเพื่อนำเสนอความรู้ใหม่ๆ ให้สมาชิกในองค์กรได้รับทราบ  หรือการตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่  ในกระบวนการนี้จึงเป็นการสร้างสรรค์ความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge) สู่ความรู้ชัดแจ้ง(explicit 
knowledge)  EK -> EK

4.    Internalization    เป็นผลของการเชื่อมโยงการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงจนความรู้ชัดแจ้งนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานความรู้ของบุคคล นั่นหมายถึงความรู้ชัดแจ้งได้พัฒนาไปเป็นกรอบแนวคิดของผู้เรียนรู้ (Mental model) เช่น การศึกษาค้นคว้า ด้วยการอ่าน การฟัง การทดสอบ และลงมือปฏิบัติจริงเกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญาฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เพื่อนำไปถ่ายทอดหมุนเวียนต่อไป      วงจรSECI จะดําเนินไปอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด EK -> TK
   ประโยชน์ของการจัดการองค์ความรู้
1.เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
2.ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา
3.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด
4.เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร
5.ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศหรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
6.ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน
7.เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
8.แปรรูปความรู้ให้เป็นทุนซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจาก ความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร
9.เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่
10.ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่1 ความหมายของความรู้

ความหมายของความรู้จากนักวิชาการแต่ละท่าน lkujiro Nonaka หมายถึงคือ แนวคิดในการจำแนกความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Tacit และ Explici...