บทที่4 องค์การแห่งเรียนรู้


       องค์การแห่งเรียนรู้ 


          เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน
วินัย5 ประการในการก้าวสู่องค์การแห่งเรียนรู้
1.บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)  หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ
2.แบบแผนทางความคิด (Mental Model)  หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ(Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
4.การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ
5.การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวม(Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย(Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน
ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้
  • 1.มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ
  • 2.มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program
  • 3.มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก
  • 4.มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview), การสังเกต (Observation) ฯลฯ
  • 5.มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation ฯลฯ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีบทบาทในการจัดการความรู้แบ่งเป็น 4 รูปแบบ
1.เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)    ช่วยให้บุคลากรเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆผ่านอินเทอร์เน็ต
2.เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology)  ช่วยให้ประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องระยะทาง
3.เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage Technology)  ช่วยในการจัดเก็บดูแลและปรับปรุงสารสนเทศและช่วยลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย
4.สังคมเครือข่าย (Social Networking)  ช่วยการบริหารจัดการระบบภายในองค์กร คือการให้และรับและแบ่งปัน และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์ และการมีปฏิสัมพันธ์กันและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคนในสังคม เช่นการมีความรู้สึกบางอย่างร่วมกันเป็นต้น
ขั้นตอนการเป็นองค์กรแห่งการเรียบรู้
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจสภาพปัจจุบัน  การประเมินศักยภาพขององศ์กรและบุคลากรในองค์กร ค่านิยม ปัญหาข้อบกพร่องต่างๆและประเมินการเรียนรู้ในปัจจุปัน รวมทั้งสำรวจระบบที่ใช้ในการจัดการองค์ความรู้
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดกลยุทธ์การจัดการความรู้ขององค์กร  นำข้อมูลที่ได้มานำมากำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์หรือแนวทางที่ใช้เป็นรูปแบบและกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน หรือจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ระหว่างกัน
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดโครงสร้างการจัดคารความรในองค์กร
กำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรมหลักหรือผู้ริเริ่มการสร้างความร่วมมือในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นคณะทำงานหรือทีมงานในการจัดการความรู้และบริหารเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนที่ 4 กำหนดแผนปฏิบัติการหลักและปฏิบัติตามแผนการจัดการความรั
การดำเนินงานตามแผน มีการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมดำเนินงาน ติดตามและประเมินผล ซึ่งมีตัวแทนจากบุคลากรทุกฝ่าย รวมทั้งผู้บริหารด้วย
ขั้นตอนที่ 5 กำหนดระบบสนับสนุนการจัดคารความรู้
ใช้ระบบตั้งแต่กาวรจัดเก็บ จัดการระบบ สืบค้น และการค้นหาองค์ความรู้ที่ต้องใช้ประโยชน์ทั้งที่อยู่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบสื่อสารอื่นๆและจัดให้มีแหล่งความรู้เพื่อรวบรวมความรู้และง่ายต่อการถ่ายทอดความรู้ระหว่างกัน
ขั้นตอนที่ 6 การติดตาม ประเมินและปรับปรุง
ในขั้นตอนท้ายสุดหลังจากดำเนินการไปแล้วระยะหนึ่ง เพื่อให้ทราบว่าองค์กรมีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด พิจารณาจากประสิทธิผล,ประสิทธิภาพและผลผลิตในองค์กรได้หรือไม่


แหล่งที่มา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่1 ความหมายของความรู้

ความหมายของความรู้จากนักวิชาการแต่ละท่าน lkujiro Nonaka หมายถึงคือ แนวคิดในการจำแนกความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Tacit และ Explici...